ความจริง 6 ประการที่คุณควรรู้เมื่อต้องการควบคุมน้ำหนัก
พลังงานที่ร่างกายได้รับ > พลังงานที่ร่างกายใช้ไป = อ้วน
ใน แต่ละวันร่างกายของเราจะได้รับพลังงานจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ไม่ว่าจะรับประทานอาหารในเวลาใดๆก็ตาม เช่นเวลาเช้า กลางวัน หรือก่อน นอน ถ้ารับประทานอาหารชนิดเดียวกันในปริมาณเท่ากัน ย่อมจะได้พลังงานที่เท่ากันเสมอ
เมื่อ ร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารในหนึ่งวัน มากกว่าพลังงานที่ร่างกายใช้ไปในหนึ่งวัน นั่นย่อมหมายถึงพลังงานส่วนเกินจะถูกเก็บสะสมเปลี่ยนเป็นไขมัน ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยพลังงานที่ขาดหรือเกินไปจำนวน 7500 แคลอรี จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามลำดับเป็นจำนวน 1 กิโลกรัม
คำแนะนำ
- ไม่ ควรรับประทานอาหารเร็วเกินไปจนรู้สึกอิ่มแล้วถึงหยุด แต่ควรรับประทานอาหารช้าๆ และหยุดรับประทานอาหารก่อนที่จะรู้สึกอิ่ม เพราะถึงแม้ว่าร่างกายของเราจะทำงานด้วยระบบรับรู้และตอบสนองที่รวดเร็ว แต่การรับรู้ในเรื่อง “อิ่มพอดี” จากอาหารเต็มกระเพาะกลับต้องใช้เวลาถึง 15 - 20 นาทีจึงจะถูกส่งมาถึงสมอง
- ควร กินอาหารมื้อหลักให้ครบทั้งสามมื้อ และไม่ควรเลื่อนเวลาอาหารมื้อหลักให้นานออกไปจนรู้สึกหิว เพราะความหิวจะยิ่งกระตุ้น ให้รับประทานอาหารหมดเร็วขึ้นกว่าปกติ และการรับรู้ “อิ่มพอดี” จากอาหารเต็มกระเพาะจะต้องใช้เวลานานกว่าปกติถึงจะถูกส่งมายังสมอง
- ควร มีอาหารว่างหรือเครื่องดื่มที่ให้พลังงานต่ำ เสริมระหว่างอาหารมื้อหลัก เพื่อป้องกันความรู้สึก “หิว” เมื่อถึงเวลาอาหารมื้อ หลักมื้อต่อไป
จาก ความรู้พื้นฐานข้อที่หนึ่งนี้ จะเห็นได้ว่ามีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องด้วยอยู่ 3 คำ ซึ่งคำศัพท์ทั้งสามคำนี้จะถูกขยายความเป็นความรู้พื้นฐานในข้อต่อๆไป ได้แก่
- น้ำหนักตัว
- พลังงานที่ร่างกายได้รับจากอาหาร และ
- พลังงานที่ร่างกายใช้ไป
น้ำหนักตัวประกอบขึ้นจากส่วนที่เป็นน้ำและเนื้อเยื่อ
2/3 ของน้ำหนักตัวเกิดจากน้ำ
เพียง 1/3 ของน้ำหนักตัวเท่านั้นที่เกิดจากเนื้อเยื่อ
ร่างกายของคนเราประกอบด้วยส่วนประกอบหลักๆ สองส่วนด้วยกันคือเพียง 1/3 ของน้ำหนักตัวเท่านั้นที่เกิดจากเนื้อเยื่อ
1. ส่วนของน้ำ ได้แก่ เลือดในหลอดเลือด น้ำเหลืองในเนื้อเยื่อต่างๆ น้ำย่อยในระบบทางเดินอาหาร และปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น น้ำหนักของน้ำ ในร่างกายคนเรามีมากถึงประมาณ 2/3 ของน้ำหนักตัวทั้งหมด ในแต่ละวัน ส่วนของน้ำนี้เองจะเป็นส่วนที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลย ถ้าน้ำหนักตัวของเราจะลดลงอย่างรวดเร็ว
เมื่อร่างกายสูญเสียน้ำ ไปกับเหงื่อโดยการอบด้วยอากาศร้อน
เมื่อร่างกายสูญเสียน้ำ ไปกับอุจจาระโดยการกินยาระบาย
หรือเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำ ไปกับปัสสาวะโดยการกินยาขับปัสสาวะ
เมื่อร่างกายสูญเสียน้ำ ไปกับอุจจาระโดยการกินยาระบาย
หรือเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำ ไปกับปัสสาวะโดยการกินยาขับปัสสาวะ
แต่ การควบคุมน้ำหนักตัวด้วยวิธีขับน้ำออกจากร่างกายเช่นนี้ เป็นวิธีที่ไม่มีประโยชน์ใดๆต่อร่างกาย และน่าจะถือว่าเป็น การหลอกตัวเองมากกว่า
2. ส่วนของเนื้อเยื่อ ได้แก่ กล้ามเนื้อ กระดูก อวัยวะภายใน และไขมันส่วนเกิน เป็นต้น น้ำหนักของเนื้อเยื่อในร่างกายคนเรามีประมาณ 1/3 ของ น้ำหนักตัวเท่านั้น และกระบวนการเผาผลาญไขมันส่วนเกินนี้ ไม่สามารถเสร็จสิ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยปกติจะใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณหนึ่งสัปดาห์ต่อการลดน้ำหนักในส่วนนี้ไปได้ เพียง ครึ่งกิโลกรัม ถึงหนึ่งกิโลกรัม
การควบคุมน้ำหนักตัวด้วยวิธีเผาผลาญไขมันส่วนเกินนี้ จึงนับเป็นวิธีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริง
คำเตือนเรื่องการลดน้ำหนัก
ยาระบาย ไม่ใช่ ยาลดน้ำหนัก การลดน้ำหนักที่ถูกต้อง ควรลดน้ำหนักตัวลงอย่างช้าๆ ประมาณครึ่งถึงหนึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์
ควบคุมน้ำตาลและน้ำมันที่แฝงอยู่ในอาหารต่างๆ
พลังงานส่วนเกินที่ร่างกายได้รับจากอาหารมาจาก น้ำตาล และ น้ำมัน
อาหารที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละวัน ประกอบด้วยสองส่วนคือ- อาหาร ที่ให้สารจำเป็นต่อสุขภาพ ได้แก่ ข้าว-แป้ง นม-เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ เราไม่สามารถงดรับประทานอาหารกลุ่มนี้ เนื่องจากอาหารเหล่านี้จำเป็น ต่อสุขภาพที่แข็งแรง
- อาหาร ที่ให้แต่พลังงาน ได้แก่ น้ำตาล และน้ำมัน พลังงานจากอาหารกลุ่มนี้ เป็นพลังงานส่วนเกินที่ร่างกายจะเก็บสะสมไว้ โดยการเปลี่ยนรูปไปเป็น ไขมันส่วนเกิน เราสามารถงดรับประทานอาหารกลุ่มนี้ เนื่องจากอาหารเหล่านี้ ไม่จำเป็นต่อสุขภาพที่แข็งแรง
น้ำตาล ถูกเรียกว่าเป็น พลังงานว่างเปล่า (Empty Calories) เนื่องจากให้พลังงานแต่ไม่ให้สารอาหารใดๆ โปรดอย่าลืมว่า อาหารบางอย่างมีน้ำตาลหรือน้ำมันแฝงมาโดยที่เรามองไม่เห็น เช่น น้ำตาลกลูโคสในน้ำอ้อยหรือน้ำผึ้ง , น้ำตาลฟรุกโตสจากน้ำผลไม้เข้มข้น หรืออาจแฝงตัวอยู่ในชื่อแปลกๆอื่นๆ เช่น เด๊กโตสไซรัป, มอลโตส, แลกโตส, คอร์นไซรัป เป็นต้น เหล่านี้ถือเป็นน้ำตาลและล้วนให้พลังงานส่วนเกินสูง ไม่ต่างจากน้ำตาลทรายละลายน้ำ
ส่วนน้ำมันพืช (ที่ไม่เป็นไขเมื่อถูกความเย็น) หรือครีมเทียม ก็ให้พลังงานเท่าๆกับน้ำมันจากสัตว์ (ที่เป็นไขเวลาถูกความเย็น)
การ ควบคุมอาหารไม่จำเป็นต้องรับประทานเฉพาะผัก และผลไม้จืดๆเท่านั้น แต่เราสามารถควบคุมอาหารโดยที่ยังคงมีความสุขกับการรับประทานอาหารอร่อยๆได้ ด้วยการเติมรสหวานจากสารให้ความหวานที่ไม่มีพลังงานแทนน้ำตาล, ใช้การปิ้ง-อบอาหารแทนการทอด, เลือกอาหารสำเร็จรูปชนิดพิเศษที่ให้พลังงานต่ำกว่าปกติ เป็นต้น
คำแนะนำ
- ใช้สารให้ความหวานที่ไม่มีพลังงาน แทนการบริโภคน้ำตาล
- ปรุงอาหารด้วยการปิ้ง-อบ แทนการทอด
- เลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปชนิดพิเศษที่ให้พลังงานต่ำกว่าปกติ แทนอาหารสำเร็จรูปธรรมดา
ออกกำลังกายอย่างเดียวไม่พอ
พลังงานส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย
ส่วนการออกกำลังกายใช้พลังงานเพียงส่วนน้อยของพลังงานทั้งหมด
คนหนุ่มสาวอายุ 25ปี ส่วนใหญ่ที่ใช้ชีวิตในเมืองจะใช้พลังงานรวม (หน่วยเป็นแคลอรี) ต่อวัน เท่ากับประมาณ 30 คูณกับน้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) ตัวอย่างเช่น คนอายุ 25ปี น้ำหนักตัว 55 กิโลกรัมจะใช้พลังงานประมาณ 1650 แคลอรีต่อวันพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ส่วนใหญ่ (ประมาณ 2/3 ของพลังงานที่ใช้ไปทั้งหมด) ถูกใช้ไปกับการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งเกิดขึ้นแม้ในขณะเรากำลังพักผ่อน-นอนหลับ (หรือเรียกว่า พลังงานขณะพัก) เช่น การเต้นของหัวใจ การขยับตัวของกระบังลมเวลาหายใจ การบีบตัวของลำไส้ การดูดซึมและย่อยสารอาหาร เป็นต้น
พลังงานส่วนน้อยเท่านั้น (ไม่เกิน 1/3 ของพลังงานรวมทั้งหมด) ที่จะถูกใช้ไปกับการทำงานและการออกกำลังกาย
ตัวอย่างเช่น คนอายุ 25ปี น้ำหนักตัว 55 กิโลกรัม จะใช้พลังงาน 1100 แคลอรีต่อวัน (หรือพลังงานที่ได้จากอาหารสองมื้อ) ไปกับการทำงานของอวัยวะภายในซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดเวลาแม้ในขณะเราพัก ผ่อนหรือนอนหลับ และใช้พลังงานเพียง 550 แคลอรีต่อวัน (หรือพลังงานที่ได้จากอาหารหนึ่งมื้อ) ในการทำงานหรือออกกำลังกาย นั่นหมายความว่า หากคุณต้องการลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกาย คุณจะต้องออกกำลังกายหนักมากและอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปได้ยาก
พลังงานขณะพักจะลดลงเมื่อเรามีอายุมากขึ้น หรือน้ำหนักตัวลดลง
เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ พลังงานที่ใช้ไปกับการทำงานของอวัยวะภายใน จะลดลงประมาณ 5 แคลอรี/วัน/อายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปี
ฉะนั้น ถ้าคนเรารับประทานอาหารเหมือนเดิม และมีกิจกรรมเหมือนเดิมไปตลอด เราจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหนึ่งกิโลกรัมทุกๆสี่ปี
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คนเราต้องการพลังงานน้อยลง สวนทางกับอายุที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อคงน้ำหนักตัวที่เหมาะสมไว้ เราจึงต้องระมัดระวังเรื่องการรับประทานน้ำตาลและน้ำมัน ตามวัยที่มากขึ้น
และหากว่าเมื่อน้ำหนักตัวของเราลดลง ร่างกายจะมีการปรับตัวโดยลดการใช้พลังงานในการทำงานของอวัยวะภายในแบบ อัตโนมัติ ฉะนั้น เพื่อเผาผลาญพลังงาน 350 แคลอรี่ ถ้าเราน้ำหนัก 60 กิโลกรัม อาจต้องวิ่ง 50 นาที แต่ถ้าเราน้ำหนัก 50 กิโลกรัม อาจต้องวิ่งถึง 1 ชั่วโมง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เมื่อทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน คนอ้วนต้องการพลังงานมากกว่าคนผอม นั่นคือ ถ้าเราอยากลดน้ำหนักตัวด้วยการออก ดังนั้น เพื่อคงน้ำหนักตัวที่เหมาะสม สิ่งที่ควรทำคือ การปรับพฤติกรรมการรับประทาน ร่วมกับการออกกำลังกายที่เหมาะกับวัย
การควบคุมน้ำหนัก
ด้วยการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอสิ่งที่ต้องเปลี่ยนมีเพียงสิ่งเดียว..นั่นคือ
ผู้ ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปส่วนใหญ่สามารถลดน้ำหนักตัวลงมาได้ในระยะสั้นๆเท่า นั้น โดยมีจำนวนไม่เกิน 1/3 ของคนเหล่านี้ ที่สามารถควบคุมน้ำหนักตัวให้คงที่ในระดับเหมาะสมต่อไปเรื่อยๆในระยะยาว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการควบคุมน้ำหนักตัวที่ถูกต้อง คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารอย่างต่อเนื่องตลอดไป
ไม่ ใช่เรื่องง่ายที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ถูกต้องซึ่งเราได้ทำซ้ำๆจนเคยชิน เราต้องตระหนักถึงโทษที่จะเกิดขึ้นจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป และต้องมี “ความตั้งใจจริง”ที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ถูกต้อง
ในชีวิตจริงเมื่อวันเวลาผ่านไปคนเราก็อาจหลงลืม “ความตั้งใจจริง” ที่เราเคยมี
ดังนั้นเราอาจต้องอาศัยกลวิธีบางอย่างเพื่อคอยช่วยเตือนความจำ ไม่ให้ลืมถึงความตั้งใจที่ดีนั้น
คำแนะนำ
- ชั่งน้ำหนักตัวอย่างสม่ำเสมอ แล้วจดบันทึกไว้ เพื่อย้ำเตือนถึง “ความตั้งใจจริง”
- ตั้ง เป้าหมายในการลดน้ำหนักครั้งละไม่มาก เมื่อทำได้แล้วจึงค่อยตั้งเป้าหมายใหม่ต่อไป และ อย่าลืมให้รางวัลเล็กๆน้อยกับตัวเองทุกครั้งที่ทำได้สำเร็จ เช่น ซื้อเสื้อชุดใหม่ ไปดูภาพยนต์ ไปทำงานอดิเรกที่ชอบ เป็นต้น แต่อย่าฉลองความสำเร็จด้วยการรับประทานอาหารเด็ดขาด
เลิกเชื่อว่า "การอด" คือคำตอบสุดท้ายของการควบคุมน้ำหนัก
การเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารอย่างต่อเนื่องตลอดไป
- ควรรับประทานอาหารช้าๆ และหยุดรับประทานอาหารก่อนที่จะรู้สึกอิ่ม
- ควรกินอาหารมื้อหลักให้ครบทั้งสามมื้อ และไม่ควรเลื่อนเวลาอาหารมื้อหลักให้นานออกไปจนรู้สึกหิว
- ควรมีอาหารว่างหรือเครื่องดื่มที่ให้พลังงานต่ำ เสริมระหว่างอาหารมื้อหลัก
- ใช้สารให้ความหวานที่ไม่มีพลังงานแทนน้ำตาล
- ปรุงอาหารด้วยการปิ้ง-อบ แทนการทอด
- เลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปชนิดพิเศษที่ให้พลังงานต่ำกว่าปกติ แทนอาหารสำเร็จรูปธรรมดา
- ชั่งน้ำหนักตัวอย่างสม่ำเสมอ แล้วจดบันทึกไว้
- ตั้ง เป้าหมายในการลดน้ำหนักครั้งละไม่มาก เมื่อทำได้แล้วจึงค่อยตั้งเป้าหมายใหม่ต่อไป และ อย่าลืมให้รางวัลเล็กๆน้อยกับตัวเองทุกครั้งที่ทำได้สำเร็จ เช่น ซื้อเสื้อชุดใหม่ ไปดูภาพยนต์ ไปทำงานอดิเรกที่ชอบ เป็นต้น แต่อย่าฉลองความสำเร็จด้วยการรับประทานอาหารอย่างเด็ดขาด
คำเตือนเรื่องการลดน้ำหนัก
- การลดน้ำหนักตัวที่ถูกต้อง ควรลดน้ำหนักอย่างช้าๆประมาณครึ่ง ถึงหนึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์
- การควบคุมน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายอย่างเดียวไม่เพียงพอ
- หลักสำคัญของการควบคุมน้ำหนัก คือ ระวังการบริโภค น้ำตาลและน้ำมัน
เอกสารอ้างอิง
- Flier JS: Obesity. In Braunwald E, et al (ed): Harrison’s principles of internal medicine-15th edition. McGraw-Hill
- The American dietetic association: Use of nutritive and nonnutritive sweeteners. J Am Diet Assoc.104:255, 2004
- The national heart, lung, and blood institute: The practical guide to the identification, evaluation, and treatment of overweight and obesity in adult. NIH Publication Number 00-4084, October 2000